วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

ดอกทานตะวัน



ตำนานดอกทานตะวัน

ดอกทานตะวันมีที่มาจากตำนานกรีกโบราณ เป็นเรื่องของเทพธิดาองค์หนึ่งชื่อว่า ไคลที ความงามของเธอคนนี้เป็นที่หมายปองของเทพหนุ่มมากมาย แต่เธอคนนี้ก็ไม่ได้สนใจ จนวันหนึ่งท้องทะเลปั่นปวน พายุได้พัดไคลทีซึ่งปกติจะอยู่ใต้ทะเลให้ขึ้นมาอยู่บนฝั่ง ตอนนั้นเองที่เธอได้พบดวงอาทิตย์หรือเทพอพอลโลเป็นครั้งแรก ไคลทีตกหลุมรักดวงอาทิตย์ทันที เธอเฝ้ามองมันอยู่แบบนั้นติดต่อกัน 9 วัน แต่ก็ไม่เคยได้รับความสนใจ จนกระทั่งเทพองค์อื่นเริ่มสงสารและเห็นใจ พวกเขาเปลี่ยนให้ไคลทีกลายร่างเป็นดอกไม้ ซึ่งดอกไม้ที่ว่าก็คือดอกทานตะวันนั่นเองค่ะ

ความหมายของดอกทานตะวัน

ในด้านความรัก ดอกทานตะวันนั้นสื่อถึงความรักบริสุทธิ์และมั่นคง เหมือนกับไคลทีที่เฝ้ามองเทพอพอลโลไม่ไปไหน ดังนั้นการเรามอบดอกทานตะวันให้ใครจึงหมายถึงการที่เราบอกผู้รับว่า ความรักของฉันที่มีให้เธอจะมั่นคง ไม่เปลี่ยนแปลง เหมือนที่ดอกทานตะวันเฝ้ามองดวงอาทิตย์เสมอไป และนอกจากความหมายซึ้ง ๆ แบบนี้แล้ว ดอกทานตะวันยังใช้สื่อถึงความร่าเริงสดใสและความสุข เหมาะสำหรับมอบให้เป็นของขวัญเพื่ออวยพรให้ผู้รับมีแต่ความสุขและความสดใสค่ะ
เป็นยังไงบ้างคะกับตำนานและความหมายของดอกทานตะวันในอีกแง่มุมที่ไม่ใช่เรื่องของความสดใสร่าเริง อ่านแล้วก็รู้สึกได้เลยว่าซึ้งกับความรักของไคลทีที่มีให้เทพอพอลโลมาก ๆ ก็แหม เล่นนั่งมองไม่ไปไหนเลยแบบนั้น ไม่รักจริงทำไม่ได้นะคะเนี่ย เรียกได้ว่าเป็นคนที่มั่นคงกับความรักจริง ๆ เห็นแบบนี้แล้วบอกได้เลยว่า ถ้าต้องบอกรักใครสักคน ดอกทานตะวันก็เป็นตัวเลือกที่เหมาะไม่ใช่น้อยเลยล่ะค่ะ

อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%97%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B8%95%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%99
HOMEPAGE

วิทยาศาสตร์

HOMEPAGE

 วิทยาศาสตร์ “Science“ มาจากคำว่า Scientic ในภาษาลาติน แปลว่า ความรู้ (Knowledge) ฉะนั้น วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ ธรรมชาติที่มนุษย์ สะสมมาแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต อย่างไม่รู้จักจบสิ้น (ทบวง, 2533) นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์ คือ
องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน โดยทั่วไปกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (The Process of Science) ประกอบด้วย 
          - ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) 
          - เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude) 

ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)      เป็นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์มี 5 ขั้นตอน
          1. การสังเกตและการตั้งปัญหา
          2. การตั้งสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเนอย่างมีเหตุผล
          3. การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
          4. การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน
          5. การสรุปผล

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude) 
     เจตคติเป็นองค์ประกอบส่งเสริม กระบวนการแสวงหา ความรู้ ที่ทบวงกำหนดมี 6 กระบวนการ  
          1. มีเหตุผล     
          2. อยากรู้ยากเห็น
          3. ใจกว้าง
          4. ชื่อสัตย์ใจเป็นกลาง
          5. ความเพียรพยายาม
          6. ละเอียดรอบคลอบ  

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์  
     ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตผล (Product) ทางวิทยาศาสตร์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (The Science Process) ซึ่งเป็นความรู้ที่ถือว่า เป็นความรู้ ทาง วิทยาศาสตร์ จะต้องทดสอบยืนยันได้ว่า ถูกต้องจากการ ทดสอบหลายๆ ครั้ง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งเป็น 6 ประเภท  
          1. ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่สังเกตได้โดยตรง และจะต้องมีความเป็นจริง สามารถ ทดสอบแล้วได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง
          2. ความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากการนำเอาข้อเท็จจริงหลายๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง มาผสมผสานเกิดความรู้ใหม่
          3. ความจริงหลักหรือหลักการ คือ กลุ่มของความคิด รวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องสามารถ นำมาทดลองซ้ำ ได้ผลเหมือนเดิม
          4. กฎ คือ หลักการอย่างหนึ่ง แต่เป็นข้อความที่เน้นความ สัมพันธ์ระหว่างเหตุผล มักแทนความสัมพันธ์ ในรูปสมการ 
          5. สมมุติฐาน เป็นคำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้า ก่อนที่จะ ดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เป็นจริงในเรื่อง นั้นๆ
          6. ทฤษฎี คือความรู้ที่เป็นหลักการกว้างๆ 

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์       วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์ และมีบทบาทสำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ  

เทคโนโลยี      เทคโนโลยี หมายถึง ขบวนการความรู้ และการปฏิบัติ ที่จะนำวิทยาศาสตร์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ในลักษณะเกื้อกูล สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีแบ่งเป็น 2ประเภท คือ  
          1. เทคโนโลยีทางการผลิต หมายถึง ความรู้สำหรับการ แปรสภาพวัตถุดิบ ประกอบชิ้นส่วน ตลอดจนถึงการ ทดสอบผลิตภัณฑ์ 
          2. เทคโนโลยีด้านการจัดการ หมายถึง องค์ความรู้ ในการจัดความสัมพันธ์ ระหว่างวัตถุดิบ คน และเครื่องจักร เพื่ออำนวยให้กการผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  
     เครื่องมือสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง ที่เกิดจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการนำไปใช้ใน วิทยาการทุกแขนง คือ คอมพิวเตอร์ ผลผลิตที่สำคัญอีก ชิ้นหนึ่ง ที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี คือ ระบบสื่อสาร โดยเฉพาะ ดาวเทียมสื่อสาร  

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์       คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แยกออกเป็น 4 ชนิด คือ 
          - ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ 
          - เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
          - มินิคอมพิวเตอร์ 
          - ไมโครคอมพิวเตอร์ 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือ A.L. หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการคิดแบบมนุษย์  
     - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super computer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่า คอมพิวเตอร์แบบอื่น  
     - เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)  คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที  
     - มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะ น้อยกว่า เครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์ รอบข้าง ได้น้อยกว่า นำมาใช้สำหรับประมวลผล ในงานสารสนเทศขององค์การขนาด กลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ ที่มีการ วางระบบ เป็น เครือข่าย เพื่อใช้งาน ร่วมกัน  
     - ไมโครคอมพิวเตอร์  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้ทำงานคนเดียว จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)  

เทคโนโลยีการสื่อสาร       เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคใหม่ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 
          1. เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใช้สาย อาศัยการส่ง-รับข้อมูล ผ่านสาย การสื่อสารที่สำคัญ คือ สายโทรเลข สายโทรศัพท์ สายเคเบิล 
          2. เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดไม่ใช้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อการส่ง-รับสัญญาณ การสื่อสารที่สำคัญ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์  

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)       หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับ ศิลปะในการนำเอา วิทยาศาสตร์ ประยุกต์มาใช้พัฒนาระบบทางชีวภาพ เพื่อให้เกิด ประโยชน์ ต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ 
     งานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นงานที่มีความเกี่ยวพันกับ สิ่งมีชีวิต โดยตรง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ กระบวนการ ทางชีวเคมี ต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมี ที่เกิดขึ้น ภายในเซลล์ของ สิ่งมีชีวิต เป็นผล มาจากการทำงาน ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วย พันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้าน เทคโนโลยีชีวภาพ จึงต้องอาศัยความ รู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรม ของ สารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้าน เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 
          1. ด้านการแพทย์ 
          2. ด้านการเกษตร 
          3. ด้านอุตสาหกรรม 
          4. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม  

อ้างอิงhttps://www.bbc.com/thai/topics/0f469e6a-d4a6-46f2-b727-2bd039cb6b53
HOMEPAGE

เทคโนโลยีสารสนเทศ

HOMEPAGE

ปัจจุบันคำว่า  “  เทคโนโลยีสาระสนเทศ  ”  หรือเรียกสั้นๆว่า    ไอที   ( IT )  นั้น  มักนำมาใช้งานอย่างกว้างขวาง  เกือบทุกวงการล้วนเห็นความสำคัญของเทคโนโลยีสารสนเทศกันแทบทั้งสิ้น  หรืออาจเรียกว่า  โลกแห่งยุคไอทีนั้นเอง  ในความเป็นจริง  คำว่าเทคโนโลยีสาระสนเทศนั้น  ประกอบด้วยคำว่า เทคโนโลยี  และคำว่า  สารสนเทศ  มารวมกันโดยแต่ละคำมีความหมายดังนี้

                    เทคโนโลยี   ( Technology )  คือการประยุกต์ความรู้ด้านวิทยาศาสตร์มาใช้ให้เกิดประโยชน์  ที่เกี่ยวข้องการผลิต  การสร้างวิธีการดำเนินงาน  และรวมถึงอุปกรณ์ต่างๆ  ที่ไม่ได้มีในตามธรรมชาติโลกแห่งเทคโนโลยียุคนี้  ทำให้มนุษย์ได้รับสิ่งอำนวยความสะดวกจากเทคโนโลยีมาประยุกต์ใช้กับการดำเนินชีวิตประจำวันมากมายนับไม่ถ้วน
                 สารสรเทศ  ( Information )  คือผลลัพธ์ที่เกิดจากการประมวลผลข้อมูลดิบ  (Rau data )  ด้วยการรวบรวมข้อมูลจากแหล่งต่างๆ  และนำมาผ่านกระบวนการประเมินผล  ไม่ว่าจะเป็นการจัดกลุ่มข้อมูล  การเรียงลำดับข้อมูล  การคำนวณและสรุปผล  จากนั้นก็นำมาเสนอในรูปแบบของรายงานที่เหมาะสมต่อการใช้งานที่ก่อเกิดประโยชน์การดำเนินชีวิตของมนุษย์  ไม่ว่าจะเป็นด้านของชีวิตประจำวัน  ข่าวสาร  ความรู้ด้านวิชาการ  ธุรกิจ
                  เมื่อนำคำว่า  เทคโนโลยี  และ  สารสนเทศ  รวมเข้าไว้ด้วยกันแล้ว  จึงสรุปความหมายโดยรวมได้ว่า  เทคโนโลยีสารสนเทศ  ( Information  technology )  คือการประยุกต์ความรู้ทางด้านวิทยาสาสตร์มาจัดการสารสนเทศที่ต้องการ  โดยอาศัยเครื่องมือทางเทคโนโลยีใหม่ๆ  เช่น  เทคโนโลยีด้านคอมพิวเตอร์  เทคโนโลยีด้านเครือข่ายโทรคมนาคมและการสื่อสาร  ตลอดจนอาศัยความรู้ในกระบวนการดำเนินงานสารสนเทศในขั้นตอนต่างๆ  ตั้งแต่การแสวงหา  การวิเคราะห์  การจัดเก็บ  รวมถึงการจัดการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศด้วย  เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพความถูกต้องแม่นยำ  และความรวดเร็วทันต่อการนำมาใช้ประโยชน์ได้นั่นเอง
                การแสวงหา การวิเคราะห์และการจัดเก็บข้อมูล จำเป็นต้องอาศัยเทคโนโลยีทางด้านคอมพิวเตอร์เข้ามาช่วยเพื่อให้เกิดความรวดเร็วและแม่นยำ  ในทำนองเดียวกันเทคโนโลยีทางด้านเครือข่ายการสื่อสารและโทรคมนาคมสามาช่วยในการเผยแพร่และแลกเปลี่ยนสารสนเทศทำได้ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น 
                เทคโนโลยีสารสนเทศจึงมีความหมายที่กว้างขวางมาก นักศึกษาจะได้พบสิ่งรอบๆ ตัวที่เกี่ยวกับสารสนเทศอยู่มาก ดังนี้
                1. การเก็บรวบรวมข้อมูล     เป็นวิธีการรวบรวมข้อมูลเข้าสู่ระบบ     นักเรียนอาจเห็นพนักงานการไฟฟ้าไปที่บ้านพร้อมเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดเล็กเพื่อบันทึกข้อมูลการใช้ไฟฟ้า ในการสอบแข่งขันที่มีสอบจำนวนมาก ก็มีการใช้ดินสอระบายตามช่องที่เลือกตอบ เพื่อให้เครื่องอ่านเก็บรวบรวมข้อมูลได้ เมื่อไปซื้อสินค้าที่ห้างสรรพสินค้าก็มีการใช้รหัสแท่ง 
( Bar code )  พนักงานจะนำสินค้าผ่านการตรวจของเครื่องเพื่อข้อมูลการสินค้าที่บรรจุในรหัสแท่ง เมื่อไปที่ห้องสมุดก็พบว่าหนังสือมีรหัสแท่งเช่นเดียวกัน การใช้รหัสแท่งนี้เพื่อให้ง่ายต่อการเก็บรวบรวม
                2. การประมวลผล      ข้อมูลที่เก็บมาได้มักจะเก็บในสื่อต่างๆ เช่น ผ่านบันทึก แผ่นซีดีหรือเทป เป็นต้น ข้อมูลเหล่านี้จะถูกนำมาประมวลผลตามต้องการ เช่น แยกแยะข้อมูลเป็นกลุ่ม เรียงลำดับข้อมูล คำนวณ หรือจัดการคัดแยกข้อมูลที่จัดเก็บเหล่านั้น
                3. การแสดงผลลัพธ์    อุปกรณ์ที่ใช้เทคโนโลยีในการแสดงผลลัพธ์มีมาก สามารถแสดงเป็นตัวหนังสือ เป็นรูปภาพ ตลอดจนพิมพ์ออกมาที่กระดาษ การแสดงผลลัพธ์มีทั้งแสดงเป็นภาพ เป็นเสียง เป็นวีดีทัศน์ เป็นต้น
                4. การทำสำเนา     เมื่อมีข้อมูลที่จัดเก็บในสื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ การทำสำเนาจะทำได้ง่ายและทำได้เป็นจำนวนมาก ดังนั้นอุปกรณ์ช่วยในการทำสำเนา จัดได้ว่าเป็นเทคโนโลยีสานสนเทศทีมีการพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เรามีเครื่องพิมพ์ เครื่องถ่ายเอกสาร อุปกรณ์การเก็บข้อมูลทางอิเล็กทรอนิกส์ เช่น จานบันทึก ซีดีรอม ซึ่งสามารถทำสำเนาได้เป็นจำนวนมาก
                5. การสื่อสารโทรคมนาคม     เป็นวีการจัดส่งข้อมูลจากที่หนึ่ง หรือ กระจ่ายออกไปยังปลายทางครั้งละมากๆ ปัจจุบันมีอุปกรณ์ระบบสื่อสารโทรคมนาคมหลายประเภทตั้งแต้โทรเลข โทรศัพท์ เส้นใยนำแสง เคเบิลใต้น้ำ คลื่นวิทยุไมโครเวฟและดาวเทียม เป็นต้น
อ้างอิงhttps://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B9%82%E0%B8%99%E0%B9%82%E0%B8%A5%E0%B8%A2%E0%B8%B5%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B8%AA%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8

ยีนสฺ์





ยีนส์ (อังกฤษjeans) คือกางเกงที่ทำจากผ้าฝ้ายหยาบ แต่เพื่อความหลากหลายมักใช้ผ้าที่มีริ้ว เดิมทีผลิตเพื่อการทำงาน แต่ได้รับความนิยมในหมู่วัยรุ่นเริ่มจากทศวรรษที่ 50 มีแบรนด์ที่มีชื่อเสียงอย่าง ลีวายส์ แรงเลอร์ เป็นต้น ทุกวันนี้ยีนส์ถือว่าเป็นเครื่องแต่งกายที่ได้รับความนิยมทั่วทุกมุมโลก มีหลากหลายรูปแบบและสีสัน

ประวัติ

ยีนส์เริ่มมีครั้งแรกที่เมืองเจโนวา เมืองท่าของประเทศอิตาลี โดยจุดประสงค์เพื่อกะลาสีชาวเจนัว ไว้ใส่เพื่อรองรับต่อสภาพแห้งหรือเปียกได้ดี และสามารถถกขากางเกงได้ขณะอยู่บนดาดฟ้าเรือ
ผ้ายีนส์ที่ทำขึ้นมาในนครเจโนอา กลางศตวรรษที่ 19 ซึ่งทางประเทศอังกฤษสั่งนำเข้าผ้าชนิดนี้ ด้วยความทึ่งในความทนทาน และเรียกผ้านี้รวมๆว่า Fustian ซึ่งแปลว่าผ้าสีเนื้อหยาบ ต่อมาระหว่างที่เรือขนส่งสินค้าเดินทางจากอิตาลีมาอังกฤษ ต้องผ่านประเทศฝรั่งเศส ซึ่งคนเมืองเรียกเมืองเจนัวว่า แชน (Gênes) และเรียกสินค้าจากเจนัวว่า ชีน (Jene) ซึ่งภายหลังเปลี่ยนมาเป็น ชอง (Jean) พอมาถึงอังกฤษ ชาวอังกฤษจะอ่านคำว่า Jean ว่า จีน หรือยีน เช่นเดียวกับคนอเมริกันที่พูดภาษาอังกฤษ ซึ่งเมื่อคนนำผ้ายีนส์นี้ไปตัดกางเกง ก็ต้องเป็นคำที่เติม s จึงเรียกว่า Jeans ยีนส์
จนกระทั่งราวปี ค.ศ. 1850 หรือ พ.ศ. 2393 ลีวาย สเตราส์ (Levi Strauss) ชาวเยอรมันที่อาศัยอยู่ที่ซานฟรานซิสโกได้ผลิตกางเกงยีนส์ในชื่อ ลีวายส์ โดยตั้งชื่อกางเกงยีนส์ตามชื่อผ้าฝ้าย โดยผ้าฝ้ายนำมาจากผู้ผลิตที่เมืองเจนัว (Genoa) แต่ในภาพรวมแล้วเหมือนกัน

อ้างอิงhttps://www.uniqlo.com/th/store/women/bottoms/jeans.html
HOMEPAGE

บาสเก็ตบอล

HOMEPAGE


บาสเกตบอล (อังกฤษbasketball) เป็นกีฬาชนิดหนึ่งซึ่งแบ่งผู้เล่นเป็น 2 ทีม แต่ละทีมประกอบด้วยผู้เล่น 5 คนพยายามทำคะแนนโดยการโยนลูกเข้าห่วงหรือตะกร้า ภายใต้กติกาการเล่นมาตรฐาน
ตั้งแต่ที่คิดค้นขึ้นในปี พ.ศ. 2434 (ค.ศ. 1891) โดยเจมส์ เนสมิท บาสเกตบอลได้ถูกพัฒนาขึ้นเป็นกีฬาสากลโลก กีฬานี้มีจุดเริ่มต้นจากในวายเอ็มซีเอ ลีกที่เกิดขึ้นในสมัยแรก ๆ เป็นระดับมหาวิทยาลัย ต่อมากลายเป็นกีฬาอาชีพ[ต้องการอ้างอิง] มีการจัดตั้งลีกเอ็นบีเอ (National Basketball Association, NBA) และเริ่มมีการแข่งขันในกีฬาโอลิมปิกเมื่อ พ.ศ. 2479 (ค.ศ. 1936)[1] ถึงแม้ว่าในระยะแรกยังเป็นกีฬาที่เล่นเฉพาะในสหรัฐอเมริกา กีฬาชนิดนี้แพร่ขยายไปสู่ระดับสากลด้วยความรวดเร็ว ปัจจุบันมีนักกีฬาและทีมที่มีชื่อเสียงตามที่ต่าง ๆ ทั่วโลก
บาสเกตบอลเป็นกีฬาที่เล่นในร่มเป็นหลัก สนามที่ใช้เล่นมีขนาดค่อนข้างเล็ก คะแนนจะได้จากการโยนลูกเข้าห่วงจากด้านบน (ชูต, shoot) ทีมที่มีคะแนนมากกว่าในตอนจบเกมจะเป็นฝ่ายชนะ สามารถนำพาลูกโดยการกระเด้งกับพื้น (เลี้ยงลูก, dribble) หรือส่งลูกกันระหว่างเพื่อนร่วมทีม เกมจะห้ามการกระทบกระแทกที่ทำให้เป็นฝ่ายได้เปรียบ (ฟาวล์, foul) และมีกฎข้อบังคับเกี่ยวกับการครองบอล
เกมบาสเกตบอลมีการพัฒนาเทคนิคการเล่นต่าง ๆ เช่น การชูต การส่ง และการเลี้ยงลูก รวมไปถึงตำแหน่งผู้เล่น (ซึ่งตามกฎแล้วไม่จำเป็นต้องมี) และตำแหน่งการยืนในเกมรุกและเกมรับ ผู้เล่นที่ตัวสูงถือเป็นข้อได้เปรียบ ถึงแม้ว่าในการเล่นแข่งขันจะควบคุมโดยกฎกติกา การเล่นรูปแบบอื่น ๆ สำหรับเล่นผ่อนคลายก็มีการคิดขึ้น บาสเกตบอลยังเป็นกีฬาที่คนนิยมดูอีกด้วย

อ้างอิงhttps://www.educatepark.com/story/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%95%E0%B8%B4%E0%B8%9A%E0%B8%B2%E0%B8%AA%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%95%E0%B8%9A%E0%B8%AD%E0%B8%A5/
HOMEPAGE

การออกแบบโลโก้โรงเรียน