วันอาทิตย์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2562

วิทยาศาสตร์

HOMEPAGE

 วิทยาศาสตร์ “Science“ มาจากคำว่า Scientic ในภาษาลาติน แปลว่า ความรู้ (Knowledge) ฉะนั้น วิทยาศาสตร์คือ ความรู้ทั่วไป เกี่ยวกับ ธรรมชาติที่มนุษย์ สะสมมาแต่อดีต ปัจจุบัน และอนาคต อย่างไม่รู้จักจบสิ้น (ทบวง, 2533) นอกจากนี้ยังกล่าวได้ว่า วิทยาศาสตร์ คือ
องค์ความรู้ที่มีระบบและจัดไว้อย่างมีระเบียบแบบแผน โดยทั่วไปกระบวนการหาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ (The Process of Science) ประกอบด้วย 
          - ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method) 
          - เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude) 

ระเบียบวิธีการทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Method)      เป็นการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์มี 5 ขั้นตอน
          1. การสังเกตและการตั้งปัญหา
          2. การตั้งสมมุติฐาน เป็นการคาดคะเนอย่างมีเหตุผล
          3. การศึกษาค้นคว้าและรวบรวมข้อมูล
          4. การทดลองเพื่อตรวจสอบสมมุติฐาน
          5. การสรุปผล

เจตคติทางวิทยาศาสตร์ (Scientific Attitude) 
     เจตคติเป็นองค์ประกอบส่งเสริม กระบวนการแสวงหา ความรู้ ที่ทบวงกำหนดมี 6 กระบวนการ  
          1. มีเหตุผล     
          2. อยากรู้ยากเห็น
          3. ใจกว้าง
          4. ชื่อสัตย์ใจเป็นกลาง
          5. ความเพียรพยายาม
          6. ละเอียดรอบคลอบ  

ความรู้ทางวิทยาศาสตร์  
     ความรู้ทางวิทยาศาสตร์เป็นผลิตผล (Product) ทางวิทยาศาสตร์จากกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ (The Science Process) ซึ่งเป็นความรู้ที่ถือว่า เป็นความรู้ ทาง วิทยาศาสตร์ จะต้องทดสอบยืนยันได้ว่า ถูกต้องจากการ ทดสอบหลายๆ ครั้ง ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ อาจแบ่งเป็น 6 ประเภท  
          1. ข้อเท็จจริงทางวิทยาศาสตร์ เป็นความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ที่สังเกตได้โดยตรง และจะต้องมีความเป็นจริง สามารถ ทดสอบแล้วได้ผลเหมือนกันทุกครั้ง
          2. ความคิดรวบยอดหรือมโนทัศน์ทางวิทยาศาสตร์ เกิดจากการนำเอาข้อเท็จจริงหลายๆ ส่วนที่เกี่ยวข้อง มาผสมผสานเกิดความรู้ใหม่
          3. ความจริงหลักหรือหลักการ คือ กลุ่มของความคิด รวบยอดที่เป็นความรู้หลักทั่วไป สามารถใช้อ้างอิงได้ คุณสมบัติของหลักการ คือ จะต้องสามารถ นำมาทดลองซ้ำ ได้ผลเหมือนเดิม
          4. กฎ คือ หลักการอย่างหนึ่ง แต่เป็นข้อความที่เน้นความ สัมพันธ์ระหว่างเหตุผล มักแทนความสัมพันธ์ ในรูปสมการ 
          5. สมมุติฐาน เป็นคำอธิบายซึ่งเป็นคำตอบล่วงหน้า ก่อนที่จะ ดำเนินการทดลอง เพื่อตรวจสอบความถูกต้อง เป็นจริงในเรื่อง นั้นๆ
          6. ทฤษฎี คือความรู้ที่เป็นหลักการกว้างๆ 

ประโยชน์ของวิทยาศาสตร์       วิทยาศาสตร์มีประโยชน์ต่อมนุษย์ และมีบทบาทสำคัญ ต่อการพัฒนาประเทศ ผลของการศึกษาค้นคว้าทาง วิทยาศาสตร์ เกี่ยวโยงกับความเจริญในด้านต่างๆ เช่น การแพทย์ การสื่อสารคมนาคม การเกษตร การศึกษา การอุตสาหกรรม การเมือง การเศรษฐกิจ  

เทคโนโลยี      เทคโนโลยี หมายถึง ขบวนการความรู้ และการปฏิบัติ ที่จะนำวิทยาศาสตร์ ไปใช้ให้เกิดประโยชน์ ในลักษณะเกื้อกูล สิ่งแวดล้อม และทรัพยากรธรรมชาติ เทคโนโลยีแบ่งเป็น 2ประเภท คือ  
          1. เทคโนโลยีทางการผลิต หมายถึง ความรู้สำหรับการ แปรสภาพวัตถุดิบ ประกอบชิ้นส่วน ตลอดจนถึงการ ทดสอบผลิตภัณฑ์ 
          2. เทคโนโลยีด้านการจัดการ หมายถึง องค์ความรู้ ในการจัดความสัมพันธ์ ระหว่างวัตถุดิบ คน และเครื่องจักร เพื่ออำนวยให้กการผลิตดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ  
     เครื่องมือสำคัญที่สุดชิ้นหนึ่ง ที่เกิดจากความก้าวหน้าทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ที่มีการนำไปใช้ใน วิทยาการทุกแขนง คือ คอมพิวเตอร์ ผลผลิตที่สำคัญอีก ชิ้นหนึ่ง ที่แสดงความสัมพันธ์ ระหว่างวิทยาการ วิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี คือ ระบบสื่อสาร โดยเฉพาะ ดาวเทียมสื่อสาร  

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์       คอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน แยกออกเป็น 4 ชนิด คือ 
          - ซูปเปอร์คอมพิวเตอร์ 
          - เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ 
          - มินิคอมพิวเตอร์ 
          - ไมโครคอมพิวเตอร์ 

ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial intelligence) หรือ A.L. หมายถึง ระบบคอมพิวเตอร์ที่เลียนแบบการคิดแบบมนุษย์  
     - ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ (Super computer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะในการทำงานสูงกว่า คอมพิวเตอร์แบบอื่น  
     - เมนเฟรมคอมพิวเตอร์ (Mainframe Computer)  คอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะสูงมาก แต่ยังต่ำกว่า ซูเปอร์คอมพิวเตอร์ คือปกติสามารถทำงานได้รวดเร็ว หลายสิบล้านคำสั่งต่อวินาที  
     - มินิคอมพิวเตอร์ (mini computer)  เป็นคอมพิวเตอร์ที่มีสมรรถนะ น้อยกว่า เครื่องเมนเฟรม คือทำงานได้ ช้ากว่า และควบคุมอุปกรณ์ รอบข้าง ได้น้อยกว่า นำมาใช้สำหรับประมวลผล ในงานสารสนเทศขององค์การขนาด กลาง จนถึงองค์การขนาดใหญ่ ที่มีการ วางระบบ เป็น เครือข่าย เพื่อใช้งาน ร่วมกัน  
     - ไมโครคอมพิวเตอร์  เป็นคอมพิวเตอร์ขนาดเล็ก และใช้ทำงานคนเดียว จึงนิยมเรียกอีกชื่อหนึ่งว่าคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล (Personal Computer)  

เทคโนโลยีการสื่อสาร       เทคโนโลยีการสื่อสารในยุคใหม่ แบ่งเป็น 2 ชนิด คือ 
          1. เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดใช้สาย อาศัยการส่ง-รับข้อมูล ผ่านสาย การสื่อสารที่สำคัญ คือ สายโทรเลข สายโทรศัพท์ สายเคเบิล 
          2. เทคโนโลยีการสื่อสารชนิดไม่ใช้สาย อาศัยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าเป็นสื่อการส่ง-รับสัญญาณ การสื่อสารที่สำคัญ ได้แก่ วิทยุ โทรทัศน์ โทรพิมพ์  

เทคโนโลยีชีวภาพ (Biotechnology)       หมายถึง วิทยาการที่เกี่ยวกับ ศิลปะในการนำเอา วิทยาศาสตร์ ประยุกต์มาใช้พัฒนาระบบทางชีวภาพ เพื่อให้เกิด ประโยชน์ ต่อมนุษย์ในด้านต่าง ๆ 
     งานด้านเทคโนโลยีชีวภาพ เป็นงานที่มีความเกี่ยวพันกับ สิ่งมีชีวิต โดยตรง เพราะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ กระบวนการ ทางชีวเคมี ต่างๆ ที่ดำเนินอยู่ในสิ่งมีชีวิต ซึ่งกระบวนการ ทางชีวเคมี ที่เกิดขึ้น ภายในเซลล์ของ สิ่งมีชีวิต เป็นผล มาจากการทำงาน ของสารพันธุกรรม หรือดีเอ็นเอ และหน่วย พันธุกรรมหรือยีน การศึกษางานด้าน เทคโนโลยีชีวภาพ จึงต้องอาศัยความ รู้พื้นฐาน เกี่ยวกับสารพันธุกรรม และพฤติกรรม ของ สารพันธุกรรม รวมทั้งวิธีการสำคัญต่างๆ ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกระบวนการด้าน เทคโนโลยีชีวภาพ เพื่อการ นำไปใช้อย่างมีประสิทธิภาพ 
          1. ด้านการแพทย์ 
          2. ด้านการเกษตร 
          3. ด้านอุตสาหกรรม 
          4. ด้านการจัดการสิ่งแวดล้อม  

อ้างอิงhttps://www.bbc.com/thai/topics/0f469e6a-d4a6-46f2-b727-2bd039cb6b53
HOMEPAGE

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

การออกแบบโลโก้โรงเรียน